เลขหมุนรอบตัวเราเหลือเกิน

เลขหมุนรอบตัวเรา

เลขหมุนรอบตัวเรา 2

วันอังคารที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2554

แผนการเรียนรู้ที่ 4 เรื่องเทสเซเลชั่น

แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 4
กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์                                                             ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
เรื่อง เทสเซลเลชัน                                                                                      เวลา   2  ชั่วโมง  
……………………………………………………………………………….
1.   เป้าหมายการเรียนรู้
      1.1    ผลการเรียนรู้
            1.  ใช้ความรู้เกี่ยวกับเทสเซลเลชันสร้างสรรค์ชิ้นงานศิลปะหรือออกแบบได้
            2.  ตระหนักถึงความสมเหตุสมผลของคำตอบที่ได้
      1.2    จุดประสงค์การเรียนรู้
                นักเรียนใช้ความรู้เกี่ยวกับเทสเซลเลชันสร้างสรรค์ชิ้นงานศิลปะหรือออกแบบได้
2.   สาระสำคัญ
      2.1    สาระการเรียนรู้
                เทสเซลเลชัน คือการวางรูปเรขาคณิตให้ชิดติดกันโดยไม่มีช่องว่างเหลืออยู่ จะอยู่ในรูปอย่างใด
อย่างหนึ่งต่อเนื่องออกไปเรื่อยๆ
      2.2   ทักษะ / กระบวนการ

การคิดวิเคราะห์  การตีความหมาย  การคิดคำนวณ

      2.3   ทักษะการคิด
                ทักษะการคิดคำนวณ   ทักษะการคิดสรุปความ  ทักษะการคิดแปลความ  ทักษะการคิด
วิเคราะห์  ทักษะการให้เหตุผล
3.  กิจกรรมการเรียนรู้
ชั่วโมงที่  1
                1.  ครูและนักเรียนร่วมกันสนทาทบทวนเกี่ยวกับการแปลงทางเรขาคณิตโดยใช้คำถาม
ถาม-ตอบกับนักเรียน ดังนี้
-  การแปลงทางเรขาคณิตที่นักเรียนรู้จักมีอะไรบ้าง
-  การสะท้อนมีลักษณะอย่างไร
-  การเลื่อนขนานมีลักษณะอย่างไร
-  การหมุนมีลักษณะอย่างไร
จากนั้นตั้งคำถามกระตุ้นความคิดของนักเรียนเกี่ยวกับเทสเซลเลชัน ดังนี้
-  นักเรียนคิดว่าสามารถนำความรู้เรื่องการแปลงทางเรขาคณิตไปใช้สร้างสรรค์ผลงานได้
หรือไม่ อย่างไร
                2.  ให้นักเรียนพิจารณาเทสเซลเลชันหลายๆ แบบ จากนั้นตั้งคำถามกระตุ้นความคิดของนักเรียนดังนี้ 
พิจารณารูปต่อไปนี้
- จากรูปที่  1- 3  เป็นรูปที่มีลักษณะอย่างไร (เป็นรูปที่นำมาปิดติดต่อกันโดยไม่ให้เกิด
ช่องว่างและไม่ให้มีการซ้อนทับกัน)
- เรียกรูปที่นำมาปิดต่อกันบนพื้นที่ที่ต้องการโดยไม่ให้เกิดช่องว่างและไม่มีการซ้อนทับกันนี้
ว่าอย่างไร (เทสเซลเลชัน)
- รูปที่  1 – 3   เป็นเทสเซลเลชันที่มีลักษณะอย่างไร (เป็นเทสเซลเลชันที่ได้จากรูปหลาย
เหลี่ยมด้านเท่า มุมเท่า ที่มาต่อกันเพียงชนิดเดียว)
- เรียกรูปเทสเซลเลชันที่มีลักษณะตามรูปที่  1 – 3     ว่าอย่างไร (เทสเซลเลชันปกติ)
- รูปที่กำหนดให้เป็นเทสเซลเลชันแบบใด (เป็นเทสเซลเลชันที่ใช้รูปหลายเหลี่ยมด้านเท่า
หลายๆ แบบมาปิดต่อกัน)
                3.  ให้นักเรียนร่วมกันอภิปรายและสรุปเกี่ยวกับเทสเซลเลชัน โดยเชื่อมโยงจากตัวอย่าง
ความรู้เดิมและคำตอบจากคำถามข้างต้น ดังนี้
- เทสเซลเลชัน (tessellation) คือ การนำรูปปิดมาปิดพื้นที่ที่ต้องการโดยไม่ให้เกิดช่องว่าง
และไม่ให้มีการซ้อนทับกัน
- เทสเซลเลชันปกติ คือ เทสเซลเลชันที่ได้จากรูปหลายเหลี่ยมด้านเท่ามุมเท่า ชนิดใดชนิด
หนึ่งเพียงชนิดเดียว ได้แก่ รูปสามเหลี่ยมด้านเท่า หรือรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส หรือรูปหกเหลี่ยมด้านเท่าเท่านั้น
                4.   ให้นักเรียนแต่ละคนสร้างเทสเซลเลชันและเทสเซลเลชันปกติอย่างละ  2  รูป ลงบนกระดาษ  A4 
โดยครูตรวจสอบความถูกต้อง  จากนั้นครูตั้งคำถามกระตุ้นความคิดของนักเรียนเกี่ยวกับการสร้างเทสเซลเลชัน
จากการใช้หลักการแปลงทางเรขาคณิต ดังนี้
- นักเรียนคิดว่าสามารถนำหลักการแปลงทางเรขาคณิตมาใช้สร้างเทสเซลเลชันได้หรือไม่
ชั่วโมงที่  2
                1.  ครูยกตัวอย่างรูปเทสเซลเลชัน  3-4  ภาพ ที่ได้จากการนำหลักการแปลงทางเรขาคณิตมาใช้
จากนั้นให้นักเรียนร่วมกันอภิปรายและสรุปเกี่ยวกับการนำการแปลงทางเรขาคณิตมาสร้างเทสเซลเลชัน      
โดยเชื่อมโยงจากตัวอย่าง คำตอบจากคำถามข้างต้น ดังนี้
                                -  ในการสร้างเทสเซลเลชันสามารถทำได้โดยใช้สมบัติการแปลงทางเรขาคณิตหลายๆ แบบ
มาช่วยทำให้เกิดเทสเซลเลชันนั้นมีลวดลายต่างๆ ที่สวยงามได้ ดังนี้   พิจารณาตัวอย่างต่อไปนี้
                2.  ให้นักเรียนแต่ละคนสร้างเทสเซลเลชันที่ใช้หลักการแปลงทางเรขาคณิตคนละ  3  รูป
ลงบนกระดาษ  A4  เป็นการบ้าน เพื่อตรวจสอบความเข้าใจ

4.  แหล่งการเรียนรู้และสื่อการเรียนรู้
-   หนังสือเรียนคณิตศาสตร์เพิ่มเติม ม.2

5.  การวัดผลและการประเมินผล
1.  สิ่งที่ต้องประเมิน
                1.1  ด้านความรู้ ประเมินจาก
        - สามารถทำแบบฝึกหัดในหนังสือเรียนได้ถูกต้องอย่างน้อย ร้อยละ 80
                         - นำความรู้เรื่องอัตราส่วนและร้อยละไปประยุกต์ใช้ได้
           1.2  ด้านทักษะกระบวนการ ประเมินจาก
                         - ตรวจสอบความสมเหตุสมผลของคำตอบได้
                1.3  ด้านคุณลักษณะที่พึงประสงค์
                             -  การให้ความร่วมมือในการตอบคำถาม และความตั้งใจเรียน
                              -  การมีระเบียบวินัยและความรับผิดชอบ
                                -  ความซื่อสัตย์
2.  องค์ประกอบของการประเมินผล
                            2.1  ผู้ประเมินผล
                                - ครูผู้สอน
                                - นักเรียนประเมินตนเอง
                2.2  เครื่องมือที่ใช้ในการวัดผลและประเมินผล
-  สังเกตจากการถามตอบคำถามในห้องเรียน
-  สังเกตจากการทำแบบฝึกหัดในหนังสือเรียนคณิตศาสตร์เพิ่มเติม
                2.3  เกณฑ์การวัดผลและประเมินผล
                - สามารถทำแบบฝึกหัดในหนังสือเรียนได้ถูกต้องอย่างน้อย ร้อยละ 80







ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น